การท่องเที่ยวไทย มีชื่อเสียงติดอันดับต้นในระดับโลกทั้งในด้านความงดงามและทางเลือกที่หลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และอาหารที่มีเอกลักษณ์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก ในปัจจุบันมีการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบสำหรับในจังหวัดสุพรรณบุรี มีการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ที่เรียกว่า
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร (Gastronomy Tourism) เป็นรูปแบบของท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์การด้านอาหารที่มีคุณค่ามากกว่าแค่การดื่มกินอาหารเด็ดเมนูดังตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ยังครอบคลุมไปถึงการผลิต (เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เยี่ยมชมแหล่งผลิตแบบพื้นถิ่น) ไปจนถึงขั้นหลังการบริโภค (เช่น การผลิตสินค้าที่ระลึกเพิ่มมูลค่า หรือแม้แต่การจัดการเศษอาหารเหลือทิ้ง) ด้วยความต่อเนื่องนี้จะเป็นโอกาส อันดีให้นักท่องเที่ยวได้เติมเต็มประสบการณ์และสัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวอันหลากหลายที่เกี่ยวเนื่องมาจากอาหาร ซึ่งจะยังประโยชน์ให้เกิดกับสังคมเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสมัยใหม่ (Agrotourism Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชาวชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้จากนวัตกรรมสมัยให้ทำให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน และตัวเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะเป็นการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
นักวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นอาจารย์และนักวิจัย ดำเนินการวิจัย 2 ปีต่อเนื่อง ในการดำเนินการวิจัย “นวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism) ส่งเสริมจังหวัดสุพรรณบุรี และ “นวัตกรรมแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารและเกษตรสมัยใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี (Gastronomy and Agrotourism) โดยใช้ฐานอัตลักษณ์และวัฒนธรรมบูรณาการกับความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้รองรับวิถีชีวิตถัดไป (Next Normal)” ได้รับการสนับสนันจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีจุดเน้นในการพัฒนาแพลตฟร์อมของข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมและโปรแกรมการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์อาหารและของฝาก และสื่อการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Digital Content) ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารและเกษตรสมัยใหม่ (Gastronomy and Agrotourism Platform) ของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเป้าหมายการพัฒนาการวิจัยเพื่อตอบเป้าประสงค์ คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการบนฐานเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของความเป็นไทยในยุคดิจิทัล